การออกแบบก่อสร้าง ด้วยระบบ Precast Concrete เป็นที่นิยมมากต่อเนื่องมา 10 ปี และ หลายบริษัท ชั้นนำในประเทศไทย ก็นำระบบนี้มาใช้งาน ประสพความสำเร็จเป็นส่วนมาก เนื่องจาก เป็นระบบที่ให้ความแข็งแรง และ ราคาต้นทุนถูกเมื่อเที่ยบกับการก่อสร้างหน้างาน แบบเดิม โดยประมาณ ค่าก่อสร้าง จะลดลงไปถึง 50% และเวลาในการก่อสร้าง ก็เร็วขึ้น ในระบบก่อสร้างที่เป็นรูปแบบโรงงาน สามารถ ผลิตบ้าน นำไปประกอบได้ วันละ 1 หลัง เป็นเรื่องปรกติ
การก่อสร้าง อาคารด้วย Precast มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การ ออกแบบ อาคารให้เหมาะกับ Precast , การแบ่ง ชิ้นงาน ให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง, การทำแบบหล่อ และ หล่อชิ้นงาน, เตรียมพื้นที่ฐานราก, การขนส่งและติดตั้ง และ สุดท้ายการตกแต่งให้สวยงาม
การออกแบบ Precast เป็นเรื่องที่ใช้หลักการไม่ซับซ้อน แต่ต้องอาศัย Engineering Sense และความปราณีต ในการออกแบบ ทำแบบหล่อ และความเป็นไปได้ในการประกอบที่หน้างานด้วย โดยเฉพาะ ขนาดและน้ำหนักของ เครน งานรายละเอียดของเหล็กเสริมใน ชิ้นงาน Precast ปัจจุบัน บริษัทรับช่วงการผลิต ต่างมีความสามารถ ทำตามความต้องการได้และมีคุณภาพสูง(ปูนซิเมนต์ไทยลงมาทำโรงงานรับหล่อด้วยเทคโนโลยี่สูง ราคาไม่แพงเพราะวัสดุเขาเอง)
กลับมาการออกแบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากถ้า Detail ครบ ปัญหาจะน้อยลง ในการแก้ปัญหาหน้างาน เช่นการเจาะผนัง หรือ ตัดพื้น เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจาก ซีเมนต์ที่ใช้ทำ Precast มีความแข็งมาก ( ปรกติ หล่อหน้างาน ประมาณ 180, ถ้าเป็น Precast ประมาณ 300) ทำด้วยเครื่องมือปรกติไม่ได้ ความถูกต้องในการติดตั้ง ชิ้นส่วนต่างๆจึงต้องพอดี
จุดประสงค์ เพื่อการสร้างโปรแกรมจากแบบสถาปัตย์ ไปเป็น แบบ ที่ส่งต่อไปทำ Precast ที่โรงงาน
โปรแกรม Revit เป็นโปรแกรมยอดนิยมในการออกแบบอาคาร 3มิติ และ มี API ในการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม ด้วย ภาษาชั้นสูง เช่น C# โดยเมื่อพิจารณาจาก โครงสร้างโปรแกรม จะพบว่า มี 3 ส่วน ได้แก่ Modeler สำหรับขึ้นรูป Mass , Assembly เป็นการวาง Object รวมเป็นอาคาร และ Family สำหรับ Object ที่จะกลายเป็น Precast ต่อไป
ในบทความต่อไป จะเป็นเรื่อง Component ต่างๆของโปรแกรม
Reference
มาตราฐานระบบPrecast Hongkong ปี 2003
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น