วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การออกแบบ Precast Concrete กับ Revit Program

การออกแบบก่อสร้าง ด้วยระบบ Precast Concrete เป็นที่นิยมมากต่อเนื่องมา 10 ปี และ หลายบริษัท ชั้นนำในประเทศไทย ก็นำระบบนี้มาใช้งาน ประสพความสำเร็จเป็นส่วนมาก เนื่องจาก เป็นระบบที่ให้ความแข็งแรง และ ราคาต้นทุนถูกเมื่อเที่ยบกับการก่อสร้างหน้างาน แบบเดิม โดยประมาณ ค่าก่อสร้าง จะลดลงไปถึง 50% และเวลาในการก่อสร้าง ก็เร็วขึ้น ในระบบก่อสร้างที่เป็นรูปแบบโรงงาน สามารถ ผลิตบ้าน นำไปประกอบได้ วันละ 1 หลัง เป็นเรื่องปรกติ

การก่อสร้าง อาคารด้วย Precast มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การ ออกแบบ อาคารให้เหมาะกับ Precast , การแบ่ง ชิ้นงาน ให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง, การทำแบบหล่อ และ หล่อชิ้นงาน, เตรียมพื้นที่ฐานราก, การขนส่งและติดตั้ง และ สุดท้ายการตกแต่งให้สวยงาม


การออกแบบ Precast เป็นเรื่องที่ใช้หลักการไม่ซับซ้อน แต่ต้องอาศัย Engineering Sense และความปราณีต ในการออกแบบ ทำแบบหล่อ  และความเป็นไปได้ในการประกอบที่หน้างานด้วย โดยเฉพาะ ขนาดและน้ำหนักของ เครน  งานรายละเอียดของเหล็กเสริมใน ชิ้นงาน Precast ปัจจุบัน บริษัทรับช่วงการผลิต ต่างมีความสามารถ ทำตามความต้องการได้และมีคุณภาพสูง(ปูนซิเมนต์ไทยลงมาทำโรงงานรับหล่อด้วยเทคโนโลยี่สูง ราคาไม่แพงเพราะวัสดุเขาเอง)

กลับมาการออกแบบจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากถ้า Detail ครบ ปัญหาจะน้อยลง ในการแก้ปัญหาหน้างาน เช่นการเจาะผนัง หรือ ตัดพื้น เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจาก ซีเมนต์ที่ใช้ทำ Precast มีความแข็งมาก ( ปรกติ หล่อหน้างาน ประมาณ 180, ถ้าเป็น Precast ประมาณ 300) ทำด้วยเครื่องมือปรกติไม่ได้ ความถูกต้องในการติดตั้ง ชิ้นส่วนต่างๆจึงต้องพอดี

จุดประสงค์ เพื่อการสร้างโปรแกรมจากแบบสถาปัตย์ ไปเป็น แบบ ที่ส่งต่อไปทำ Precast ที่โรงงาน
โปรแกรม Revit เป็นโปรแกรมยอดนิยมในการออกแบบอาคาร 3มิติ และ มี API ในการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม ด้วย ภาษาชั้นสูง เช่น C#  โดยเมื่อพิจารณาจาก โครงสร้างโปรแกรม จะพบว่า มี 3 ส่วน ได้แก่ Modeler สำหรับขึ้นรูป Mass  , Assembly เป็นการวาง Object รวมเป็นอาคาร และ Family สำหรับ Object ที่จะกลายเป็น Precast ต่อไป
ในบทความต่อไป จะเป็นเรื่อง Component ต่างๆของโปรแกรม

Reference
มาตราฐานระบบPrecast Hongkong ปี 2003

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น